บวมน้ำเหลือง Lymphedema

โรคบวมน้ำเหลือง คือ ภาวะที่มีน้ำในเนื้อเยื่อคั่ง น้ำเหลืองอั้น พบบ่อยว่ามีอาการบวมที่ ขา แขน มือ เท้า ซึ่งจะปรากฏร่วมกับการขยายตัว และการเพิ่มจำนวนของหลอดน้ำเหลืองฝอย สาเหตุที่พบมากในแถบประเทศเขตร้อนเกิดจากเชื้อฟิลาเรียหรือโรคเท้าช้าง

ปัจจุบันในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคบวมน้ำเหลืองได้ ในผู้ที่เคยผ่าตัดและฉายแสงเพื่อรักษา มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม เนื่องจาก แพทย์ จำเป็นต้องผ่าตัดหลอดน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลืองทิ้งไปด้วย และการฉายรังสีหลังการผ่าตัดมะเร็ง เป็นสาเหตุก่อให้เกิดการทำลายระบบระบายน้ำเหลือง อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเหลืองได้ตามปกติ จึงปรากฏอาการขาบวม แขนบวม โตขึ้นได้ในที่สุด

การจำแนกประเภท

1. บวมน้ำเหลืองปฐมภูมิ Primary Lymphedema

    1.1 บวมน้ำเหลืองแต่กำเนิด Congenital Lymphedema

              พบอาการบวมแขน หรือ ขา ตั้งแต่กำเนิด

              หรือพบได้ในโรคปานแดงระยางค์โตหลอดเลือดขอด Klippel Trenaunay Syndrome (KTS)

    1.2 บวมน้ำเหลืองวัยต้น Lymphedema Praecox

              มีอาการบวมหลังภายหลัง ก่อนอายุ 35 ปี พบในเด็กที่แสลงนมขวด/อาหาร

              หรือมีบาดเจ็บนำมาก่อน เช่น แมลงกัด เท้าแพลง

    1.3 บวมน้ำเหลืองวัยหลัง Lymphedema Tarda

              เริ่มบวมหลังอายุ 35 ปี ไปแล้ว

2. บวมน้ำเหลืองทุติยภูมิ Secondary Lymphedema             

    -พบอาการบวมภายหลังศัลยกรรม หรือทำรังสีบำบัด เช่น ภายหลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านม 

     มะเร็งมดลูก ซึ่งเกิดแทบทุกราย (อาจนานถึง 42 ปี ให้หลัง) หลังผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง

    -ติดเชื้อหนอนพยาธิฟิลาเรีย โรคเท้าช้าง Lymphatic Filariasis พบน้อยในไทย

      ทว่ายังมีมากในประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย บังคลาเทศ กลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา  

 

       โรคบวมน้ำเหลือง บางครั้งพบร่วมกับความผิดปกติขององค์ประกอบอื่น เช่น เนื้องอกหลอดเลือด หลอดเลือดดำขอด (เส้นเลือดขอด) ลิ้นหลอดเลือดดำเสื่อม ลิ่มหลอดเลือดดำลึก เนื้องอกหลอดน้ำเหลือง เนื้องอกปลอกหุ้มเส้นประสาท (โรคท้าวแสนปม) SLE เก๊าท์  เบาหวานลงเท้า ประวัติป่วยที่อาจมีการบาดเจ็บ เช่น สะดุดหิน ไม้ตำ แตนต่อย งูกัด รถชน แผลใดๆที่เกิดมีการบวมมาก่อน ที่สุดอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น ใต้ผิวหนังอักเสบ ไฟลามทุ่ง อาการบวมน้ำเหลืองอาจจะมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดความแสลงอาหาร มีแขน ขาอักเสบเฉียบพลัน ไข้สูงหนาวสั่น ที่มักเข้าใจว่าไป "ติดเชื้อ" 

 

บวมน้ำเหลืองระนาบลึก Lymphedema Profunda

      มองภายนอก อาจไม่รู้เลยว่าบวม แต่ผู้ป่วยรู้สึกเอง คล้ายขาอวบผิดสัดส่วน มักมีน้ำหนักตัวขึ้นไว มีบวมไขมันเซลลูไลท์หรือมีการแสลงไก่ นม จะพบมีจุดกดเจ็บตามแนวน้ำเหลืองที่ขา เดินเมื่อยเร็วผิดวัย เปลี้ยล้าง่าย ขึ้น-ลงบันไดลำบาก ลุกก็โอย นั่งก็โอย จนขี่หงุดหงิด กลายเป็นคนเหนื่อยง่าย เสียความมั่นใจในตัวเอง กรณีที่เป็นมาก อาการจะลามแพร่สู่ลำตัว เจ็บตามเนื้อตามตัว ปวดข้อ แขน ไหล่ ปวดท้ายทอย ศรีษะ ปวดท้อง หลัง เจ็บในเต้านม 

 

การดำเนินโรค

ระยะโรค Staging

       ระยะ 0  ระยะแฝง (Latend) ยังไม่ปรากฏอาการบวม แม้หลอดน้ำเหลืองมีความเสียหายแล้ว

       ระยะ 1  บวมชั่วคืน (Spontaneously reversible) หลอดน้ำเหลืองมีความเสียหายแล้ว

                    จนปรากฏอาการบวม แบบมีกดบุ๋มบ้าง  แต่ตื่นเช้ามาก็หายบวมไปเอง

      ระยะ 2  บวมตลอด (Spontaneously irreversible) หลอดน้ำเหลืองมีความเสียหายมาก

                  จนปรากฏอาการบวมอยู่ตลอด ไม่หายเองกดบุ๋มชัดเจนเป็นแอ่งอยู่นาน เพราะมีวุ้น

                   ตกตะกอนเป็นชั้นใต้ผิวหนัง (แสลงหมู ปลา)  หนังจะค่อยๆแข็งด้วยพังผืดหนาตัว

      ระยะ 3  บวมเท้าช้าง (Lymphostatic elephantiasis) หลอดน้ำเหลืองมีความเสียหายมาก

                   ผิวหนังจะแข็ง ตะปุ่มตะป่ำ

 

ระดับความรุนแรง Severity ของอาการบวม

    ระดับ 1    วัดเส้นรอบวงของข้างที่บวมได้ โหญ่กว่าข้างที่ไม่บวม ไม่เกิน 4 ซม

    ระดับ 2    เส้นรอบวงของข้างที่บวม โตขึ้นกว่า 4 ซม แต่ไม่เกิน 6 ซม บวมตลอดแขน หรือขา

                   มีอักเสบใต้ผิวหนังเป็นครั้งคราว

    ระดับ 3ก  เส้นรอบวงของข้างที่บวม ใหญ่กว่าอีกข้างเกิน 6 ซม อักเสบบ่อบ ผิวหนังเสื่อมต่างๆนานา

                    นิ้วอ้วน น้ำเหลืองซึมตามร่องนิ้ว

    ระดับ 3ข  รุนแรงแบบ 3ก แต่บวมลามไปยังขาอีกข้างแล้ว

    ระดับ 4    รุนแรงสูงสุด แบบฉบับโรคเท้าช้าง บวมเป็นมัด เป็นก้อน ผิวสีคล้ำจนดูสกปรก หนังแข็ง

                    และสาก ขึ้นหูดชุด เป็นหนังกระเบน หนามขุน ดอกกะหล่ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม

 

 

  

Visitors: 245,532